องค์การอนามัยโรค กำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และการที่ความดันโลหิตสูงเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต ฯลฯ โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักไม่รู้ตัวว่าเป็น ทำให้ไม่สนใจเท่าที่ควร

ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เรามีความดันโลหิตสูง เกิดจากอายุ เมื่อเราอายุมากขึ้นโอกาสที่จะมีความดันโลหิตสูงมากขึ้น ความดันโลหิตเวลานอนหลับ ค่าความดันมักจะลดลง แต่พอตื่น คามดันจะสูงขึ้น จิตใจและอารมณ์, กรรมพันธุ์,สิ่งแวดล้อม, โรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ความอ้วน ไต ฯลฯ ,ปริมาณเกลือที่ได้รับในแต่ละวัน ผู้ที่รับประทานเกลือมาก จะพบว่ามีความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย โดยปกติคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน120/80 มม.ปรอท

ส่วนผู้ที่มีค่าความดันโลหิตระหว่าง 120-139/ 80-89 มม.ปรอท จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อรู้ตัวว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง เราควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรืออาหารที่ปรุงโดยสารที่ให้รสเค็ม เช่น เกลือ รวมทั้งผงชูรส และผงฟู ควรรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น  หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ,ฝึกสมาธิ การผ่อนคลาย,งดสูบบุหรี่ ,เครื่องดื่มแอลกอฮอล์,รับประทานยาต่อเนื่อง ไม่ควรปรับเพิ่มหรือลดยาเอง  และควรวัดความดันโลหิตเป็นระยะๆ