ความทุกข์ยากในวัยเด็กสามารถกระตุ้นให้เกิดความเครียด ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสมองของเด็กได้ และเพิ่มความเสี่ยงด้านพฤติกรรม, การเรียนรู้บกพร่อง และปัญหาสุขภาพของเด็กคนนั้นไปตลอดชีวิต

          ลักษณะนิสัยในวัยเด็ก สามารถส่งผลต่อสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ มีผลวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่า คนที่มักฉุนเฉียวเจ้าอารมณ์ในวัยเด็กมีความเสี่ยงจะหัวใจวายและสมองขาดเลือดมากขึ้นในวัยกลางคน

          การศึกษานำโดย ดร.อัลลิสัน แอปเพิลตัน จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮาร์วาร์ด ได้ทำการสำรวจจากผู้ใหญ่ 377 คนที่เคยผ่านการทดสอบพฤติกรรมเชิงอารมณ์ในวัยเด็กมาก่อน และทำให้พบว่าผู้ที่มักมีอารมณ์โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียวง่ายตั้งแต่วัย 7 ขวบ มีความเสี่ยงที่จะหัวใจวายหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 40 เศษ ความเสี่ยงนี้เพิ่มมากในผู้หญิงมากกว่าฝ่ายชายด้วย โดยฝ่ายหญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 31% ส่วนผู้ชายมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้น 17%

          คณะวิจัยยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงนี้ และดูด้วยว่ามีกลไกทางชีวภาพใดที่สามารถสนับสนุนผลการศึกษานี้หรือไม่

          อย่างไรก็ดี ผลที่ได้สอดคล้องกับผลการศึกษาอีกหลายชิ้นที่ชี้ว่า ประสบการณ์เชิงลบในวัยเด็กสามารถส่งผลต่อชีวิตในระยะยาวได้ เช่น คณะวิจัยอีกชุดของฮาร์วาร์ดพบว่า ความทุกข์ยากในวัยเด็กสามารถกระตุ้นให้เกิดความเครียดที่เป็นอันตรายต่อร่าง กายและสมองของเด็กได้ และเพิ่มความเสี่ยงด้านพฤติกรรม, การเรียนรู้บกพร่อง และปัญหาสุขภาพของเด็กคนนั้นไปตลอดชีวิต

 

 

        ที่มา : ไทยโพสต์

        ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

http://www.thaihealth.or.th/